แชร์

ท่อ นั้นสำคัญนะ YOU

อัพเดทล่าสุด: 22 พ.ย. 2024
32 ผู้เข้าชม

คุณลูกค้าเคยไหม เวลาไปสถานที่ต่างๆ หรือเดินทางไปไหน มาไหน เราก็จะเห็นพ่อค้า แม่ค้า หรือแม้กระทั้งเด็กๆ หิ้วของขายไป ปากก็ร้องไป ของมาแล้วจ้า ขนมซื้อไหมจ้า 3 ห่อ 10 บาท ป้าๆ (เฮ้ย!!!ใครป้า พูดจาน่าบาดหมาง) ซื้ออันนี้ไหมหนูขายมาทั้งวันล่ะ ไม่ได้สักกะอัน หรือไม่ก็ พี่ช่วยซื้อหน่อย (เด็กคนนี้โตขึ้นเจริญแน่นวล ^^) เราก็เหมาเลยซิจ๊ะ รออะรัย แต่ถ้าหากคิดถึง ท่อ แอดมินคิดถึงปุ๊บ ขำก๊ากก แบบไม่มีสาเหตุ (คนแถวๆนั้น กดโทรหา จนท.กันยกใหญ่ นึกว่าคนบ้าหลุดมั้ง แอดมินลืมตัวไปนิสสส) คือที่แอดมินคิดลองจินตนาการตามว่า หากน้องๆ ของแอดมิน หรือ ยู การผลิต ให้แบก หรือหอบหิ้วอุปกรณ์ ต่างๆ มาเร่ขายคงพิลึกแหงๆ ประมาณว่า ท่อจ้าท่อ 3 มัด ลด 20 บาท แถมคนยกไปให้ที่รถ หรือไม่ก็ ข้อต่อ 3 ห่อร้อยไปเลยจร้า อ่ะนะ มันใช่เหรอนิ (แอดมินนั่งคิด ยืนคิด ไม่ได้ซิ ใครจะหอบ ใครจะแบกมาทำแบบนี้) แต่ก็ อ๊ะ อ๊ะ ไม่แน่นะ แอดมินอาจจะเป็นคนแรกที่แบกไปขายกันยกคันรถ 10 ล้อกันไปเลย 555 ทำให้แอดมินคิดถึงบทความก่อนหน้านี้แอดมินบอกคุณลูกค้าว่า จะสรรหาเรื่องดีๆ มาฝากกันอีก แอดมินก็สรรหามาเล่านู้น นี้ นั้น เยอะไปโหม๊ดดด จนคุณลูกค้าบางคนน่าจะหายใจเข้าท่อ หายใจออกท่อ ^^ แอดมินเองบางวันก็ฝันถึงแต่ท่อกันไปแหะ แหะ
ที่นี้ไหนๆ ก็เกริ่นท่อมาซะขนาดนี้ล่ะ แอดมินจะเล่าให้คุณลูกค้าได้ติดตามกันอีกสักหน่อย ว่าเจ้าท่อต่างๆ เขามีหน้าที่หลักๆ ยังไง (เป็นทรงอย่างแบด แซดอย่างบ่อยมั้ยเห็นกำลังฮิตติดชาร์ทวัยรุ่นฟันน้ำนม ^^ แอดมินว่า ไม่น่าจะใช่อ่ะนะ) หรือเขามีขนาดแตกต่างกันมากไหม รึว่าท่อมีการประเภทแบ่งการใช้งานอะไรบ้าง รวมถึงวัสดุที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปแบบไหนลองมาติดตามกันเล๊ยยย


ท่อ คือ ???

ถ้านึกถึงท่อ แอดมินจะนึกถึงภาชนะที่เอาไว้ขนส่งและลำเลียงสสารบางอย่างให้ไปสู่จุดที่ต้องการ แม้เราจะคุ้นหน้าคุ้นตากับเจ้าท่อที่มีรูปทรงและหน้าตัดเป็นทรงกลม แต่แอดมินคิดว่าก็คงไม่จำเป็นเสมอไปนะคุณลูกค้า เพราะท่อสามารถมีรูปร่างและลักษณะได้หลากหลายตามการออกแบบ เพื่อให้เข้ากับสถานที่และการใช้งาน โดยส่วนใหญ่แล้วมาตรฐานที่กำหนดใช้ในการผลิต จะเป็นการกำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาซะมากกว่า


YOUรู้หมือไร่

 แอดมินขอเล่าย้อนไปสักหน่อย ท่อถูกค้นพบในการใช้งานครั้งแรกในศตวรรษที่ 25 ก่อนคริสต์ศักราช ในพีระมิดแห่งซาฮูเรส ประเทศอียิปต์ (โห.นานมากกก ไม่หน่อยแล้วม๊างง) โดยเป็นการใช้ท่อทองแดงเพื่อการระบายน้ำภายในพีระมิด และมีการพัฒนามาตลอดจนเราอาจจะกล่าวได้ว่า ท่อแต่ละประเภทนั้นอาจจะแบ่งการใช้ท่อตามอุตสากรรมต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นหัวข้อหลัก ดังนี้

  • ท่อสำหรับอุตสาหกรรมท่อเคมีและไฟฟ้า
  • ท่อสำหรับอุตสาหกรรมประปา
  • ท่อสำหรับอุตสาหกรรมท่อส่ง

ท่อสำหรับอุตสาหกรรมเคมีและไฟฟ้า

โดยทั่วไปแล้วท่อในกลุ่มนี้ เท่าที่แอดมินทราบจะเป็นท่อที่ต้องทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง และทนทานต่อความดันที่สูงกว่าปกติ (น้องๆ แอดมินถามว่าบนดาวแพนดอร่า ก็ต้องใช้แน่ๆ เลยชิมิ เอิ่มขอสักป๊าบได้ป่ะ ? ?)  โดยส่วนใหญ่จะทำจากวัสดุอย่างเหล็ก โดยใช้ในอุตสาหกรรมเคมี พลังงาน ปิโตรเคมี เหล็ก น้ำมัน และก๊าซ โดยมีมาตรฐานสากลในเรื่องของความสามารถในการรักษาแรงดัน อุณหภูมิ ต้านทานต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี

ท่อสำหรับอุตสาหกรรมประปา

ท่อประปาทั่วไปที่เราสามารถเห็นได้ตามร้านค้าส่วนมาจะเป็นท่อสีฟ้าๆ (แอดมินแอบเห็นแม่ค้าชอบใช้ทำที่แขวนพวงมาลัยในตลาดสดด้วยล่ะ ^^) อย่างท่อ PVC ท่อ PEX, ท่อทองแดง, ท่อ ABS, ท่อเหล็กหล่อ และท่อเหล็กอาบสังกะสี เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการจ่ายน้ำเป็นหลัก

ท่อสำหรับอุตสาหกรรมท่อส่ง

ท่อที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้มักจะเรียกว่าท่อเส้น (ซึ่งผลิตภัณฑ์ของยู การผลิตของแอดมินจะอยู่ในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่) และออกแบบโดยมาตรฐาน API 5L ท่อ API 5L มีหลายเกรดที่ใช้ในการลำเลียงน้ำมัน ก๊าซ หรือน้ำผ่านทางท่อ วัสดุไปป์ไลน์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ SS, DSS, SDSS, GRE, FRP เป็นต้น

  • ท่อน้ำที่ขนส่งน้ำ
  • ท่อก๊าซขนส่งสารที่เป็นก๊าซ
  • ท่อไอระเหยของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  • ท่อน้ำมันขนส่งน้ำมันดิบหรือน้ำมันพืช
  • ท่อไอน้ำขนส่งไอน้ำ
  • ท่อขนส่งไฮโดรเจน
  • ท่อร้อยสายไฟ

ขนาด ท่อ

อย่างที่แอดมินเกริ่นตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีว่าการวัดขนาดของท่อ เราจะวัดตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของท่อนั้นๆ แต่อ๊ะ อ๊ะ ในบางกรณีที่ต้องการความชัดเจนแบบละเอียดมากขึ้น เราจะระบุเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกและภายในของท่อ ความหนาของผนังท่อซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญต่อน้ำหนักของท่อด้วย ซึ่งในหลายๆ อุตสาหกรรมความหนาของผนังท่อนี้มีความสำคัญต่อการกำหนดปริมาณแรงดันภายในท่อ ที่ท่อจะสามารถทนได้อีกด้วย           

ในส่วนของการวัดขนาดของท่อนั้น เราสามารถวัดท่อโดยใช้หน่วยวัด เป็นนิ้วหรือเป็นหุนก็ได้ ตามขนาดของท่อ ซึ่งสามารถเล็กประมาณ ½ นิ้ว หรือ 4 หุน ไปจนถึงท่อขนส่งขนาดใหญ่กว่าตัวแอดมิน (หึยย จะมาเทียบกับฉ๊านทำไมล่ะเนี่ย) ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งสามารถปรับเพิ่มหรือลดขนาดได้ตามข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมนะจ๊ะ

รู้ไว้ใช่ว่านะYOU

ก่อนหน้านี้เราเที่ยวซะไกลถึงอียิปต์ไปขึ้นพีระมิด ลงลึกไปถึงกีซ่าทั้ง 3 แห่ง เราก็ควรจะวกกลับมายังดินแดนอันคุ้นเคยของแอดมิน (อากง อาม่า คงแอบดีใจที่แอดมินยังคิดถึง ยิ่งช่วงใกล้ตรุษจีน ยิ่งคิดถึงเป็นพิเศษ แหะ แหะอั่งเปาไงจะใครเล่า) Hun หรือ หุน มาจากหน่วย ชุ่น ของจีน ซึ่งจะแบ่งเป็น 10 ส่วน ซึ่งมีหน่วยเรียกว่า เฟิน (分) (สำเนียงจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า ฮุ้ง) ชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วที่อยู่ในประเทศไทย จะเรียกหน่วย 1 ใน 10 ของชุ้งว่าฮุ้ง ซึ่งก็เพี้ยนมาเป็นคำว่า หุน แต่ยังไม่ใช่หน่วยวัดที่ถูกต้องในปัจจุบันนะ หลังจากนั้นต่อมาไม่นานมีการผสานหน่วยจีนและหน่วยนิ้วของสากล โดยเรียกหน่วยชุ้ง ว่าหน่วยนิ้ว และความยาว 1 ส่วน 8 นิ้ว ไปเรียกว่าหุนแทน ส่วนในจีนทุกวันนี้ ก็เรียกหน่วย 1 ส่วน 8 นิ้วว่า เฟิน (หรือฮุ้งในสำเนียงแต้จิ๋ว) เช่นกัน หน่วยหุนจึงเป็นหน่วยวัดที่ผสมผสานความเป็นจีนสากลและไทยคลุกเคล้าเข้าไปด้วยกันซะเลย โดย 1 หุนจะเท่ากับ 1 ใน 8 ส่วนของนิ้ว (1 หุน = 1/8) หรือ 1 นิ้ว เท่ากับ 8 หุน นั่นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy